ตัวบ่งชี้ที่ 3.2          การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

ชนิดของตัวบ่งชี้       กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

ในช่วงปีแรกของการศึกษา ต้องมีกลไกในการพัฒนาความรู้พื้นฐานหรือการเตรียมความพร้อมทางการเรียนแก่นักศึกษา เพื่อให้มีความสามารถในการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีความสุข อัตราการลาออกกลางคันน้อย ในระหว่างการศึกษามีการจัดกิจกรรมการพัฒนาความรู้ความสามารถในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีกิจกรรมเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีที่มีจิตสานึกสาธารณะ มีการวางระบบการดูแล ให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ (ระดับปริญญาตรี โท เอก) ระบบการป้องกันหรือการบริหารจัดการความเสี่ยงของนักศึกษา เพื่อให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด รวมทั้งการส่งเสริม การเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักศึกษา การสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่    21  ให้ได้มาตรฐานสากล

ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อย ให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้

- การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี

- การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


ผลการดำเนินงาน

ผู้รับผิดชอบ    นางอัญชณา  ศรีชาญชัย       ผู้กำกับติดตาม นางนงนุช   นามวงษ์

ตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงาน

การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา (สกอ.3.2)

การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา

1.  ภาควิชาฯ มีระบบและกลไกการควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา (3.2.1-1) โดยดำเนินการ ประชุมภาควิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำชั้น แนวทางการปฏิบัติสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำชั้นในการให้คำปรึกษาวิชาการและแนวแก่นักศึกษา (3.2.1-2)

2.  เสนอแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำชั้นให้กลุ่มงานกิจการนักศึกษาของวิทยาลัยเพื่อดำเนินการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำชั้น (3.2.1-3, 3.2.1-4, 3.2.1-5)

3. อาจารย์ที่ปรึกษา/ อาจารย์ประจำชั้น ดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาในการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา (3.2.1-6, 3.2.1-7)

4. รวบรวมข้อมูลจัดทำบันทึกข้อความเพื่อเสนอหัวหน้าภาควิชาเมื่อพบปัญหาเร่งด่วน

(3.2.1-8)

5. จัดทำรายงานสรุปผลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา (3.2.1-9)

6. เสนอบันทึกข้อความ/รายงานสรุปผลการดำเนินงานต่อหัวหน้าภาควิชา

(3.2.1-10, 3.2.1-11)

7. อาจารย์ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการแก้ปัญหา (3.2.1-12)

การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

1. ภาควิชาฯ มีระบบและกลไก การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3.2.2-13) โดยดำเนินการประชุมภาควิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3.2.2-14)

2. ดำเนินการตามแนวทางพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาทุกชั้นปี และสนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงการอย่างเพียงพอ โดยมีการจัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะวิชาชีพแก่นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ชั้นปีที่1 (3.2.2-15)

3. จัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3.2.2-16)

4. เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินงานต่อหัวหน้าภาควิชา (3.2.2-17)

การประเมินกระบวนการและการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ

1. อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องประเมินกระบวนการด้วยวิธีการ AAR พร้อมเสนอแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนากระบวนการแล้วประชุมภาควิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์เพื่อพิจารณา ผลการประเมินระบุว่าอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำชั้นสามารถดูแลและให้คำปรึกษาแนะนำได้ทั้งเรื่องการเรียน ความเป็นอยู่ในวิทยาลัยฯ และสุขภาพ กิจกรรมที่ส่งเสริมนักศึกษาที่ภาควิชาและวิทยาลัยฯ จัดมีความครอบคลุมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 3 ด้าน ตามแนวทางที่วางไว้และขั้นตอนการสรุปผลการดำเนินงานในส่วนของการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาเฉพาะนักศึกษาที่มีปัญหา แต่หัวหน้าภาควิชาไม่ทราบผลสรุปการดำเนินการคำปรึกษาของนักศึกษาที่ปกติ และอาจารย์ฝ่ายกิจการแจ้งว่าในส่วนของกิจกรรมที่วิทยาลัยฯ จัดนั้น การรวบรวมผลมีความยากลำบากเนื่องจากข้อมูลอยู่ที่ฝ่ายอื่น มติที่ประชุมเห็นควรให้ปรับปรุงกระบวนการตามผลการประเมิน โดยเพิ่มขั้นตอนการบันทึกการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาโดยใช้สมุดบันทึกการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา และเพิ่มขั้นตอนการทำบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะโดยใช้สมุดบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนา (3.2.2-18)

2. ประชุมภาควิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมินกระบวนการ

(3.2.2-19)

 

ผลการประเมิน

 

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

คะแนนการประเมินตนเอง

บรรลุเป้าหมาย

3 คะแนน

-มีระบบ มีกลไก

-มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

-มีการประเมินกระบวนการ

-มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

3 คะแนน

บรรลุ

 

แนวทางการพัฒนา

          ผู้รับผิดชอบนำผลการประเมินคุณภาพมาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาและส่งเสริมนักศึกษา และนำผลมาปรับระบบและกลไกเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของภาควิชา ฯ ในปีการศึกษา 2559

รายการหลักฐานตัวบ่งชี้ 3.2

การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

 

หมวดที่

เลขที่

หลักฐาน

3.2

3.2.1-1

ระบบและกลไกการควบคุมดูแลการให้คำปรึกษา

3.2

3.2.1-2

รายงานการประชุม

3.2

3.2.1-3

คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา

3.2

3.2.1-4

คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ประจำชั้น

3.2

3.2.1-5

รายชื่อนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา

3.2

3.2.1-6

บันทึกการให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษา

3.2

3.2.1-7

บันทึกการให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ประจำชั้น

3.2

3.2.1-8

บันทึกข้อความ

3.2

3.2.1-9

รายงานสรุปผลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา

3.2

3.2.1-10

บันทึกข้อความ

3.2

3.2.1-11

รายงานสรุปผลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา

3.2

3.2.1-12

หลักฐานร่องรอยการดำเนินการแก้ปัญหา

3.2

3.2.2-13

รายงานการประชุม

3.2

3.2.2-14

แนวทางพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

3.2

3.2.2-15

โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะวิชาชีพแก่นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ชั้นปีที่ 1

3.2

3.2.2-16

รายงานสรุปผลโครงการ

3.2

3.2.2-17

รายงานสรุปผลโครงการ

3.2

3.2.2-18

รายงานผลการประเมินกระบวนการด้วยวิธีการ After action review (AAR)

รายงานการประชุม (แนวทางในการปรับปรุง/พัฒนา)

3.2

3.2.2-19

รายงานการประชุม (แนวทางในการปรับปรุง/พัฒนา