การรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
1. ภาควิชาฯ
มีระบบและกลไกการรับและแต่งตั้งอาจารย์หลักสูตร (4.1.1-1)
2. ภาควิชาฯ มีการนำระบบและกลไกไปสู่การดำเนินงานโดย มีการประชุมภาควิชาฯ
โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์อัตรากำลังอาจารย์
และกำหนดแนวทางการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรว่า
ควรวิเคราะห์อัตรากำลังตามโครงสร้างและหน้าที่ความรับผิดชอบของภาค
และการกำหนดอาจารย์ประจำหลักสูตรควรเป็นอาจารย์ที่มีคุณวุฒิขั้นต่ำระดับปริญญาตรี
มีประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 5 ปี และเป็นไปตามเกณฑ์ของ
สกอ. และ สพฉ. (4.1.1-2)
2. จัดทำแผนอัตรากำลังปีการศึกษา 2558 (4.1.1-3) โดยแผนอัตรากำลังระบุว่าภาควิชาฯ
ควรมีอัตรากำลังอาจารย์ประจำภาควิชาฯ จำนวน 8 คนแต่ขณะนั้นพบว่ามีอาจารย์สามารถปฏิบัติงานที่ภาควิชาฯได้เพียง
7 คน จึงขาดอัตรากำลังไป 1 คน
ซึ่งแผนอัตรากำลังที่ขาด สามารถใช้อาจารย์ใหม่ได้ ภาควิชาฯจึงเสนอขออาจารย์เพิ่ม
1 คน
3. ประชุมภาควิชาฯ เพื่อพิจารณาอาจารย์ประจำหลักสูตรประจำปีการศึกษา 2558
ซึ่งอาจารย์ที่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรตามที่ระบุในเล่มหลักสูตรนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนตามแนวทางที่ภาควิชาฯกำหนด
ปฏิบัติหน้าที่ดีและสามารถอยู่ปฏิบัติงานได้ตลอดปีการศึกษา
จึงเห็นควรให้เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรตามที่ระบุในเล่มหลักสูตรดำเนินการต่อไปในปี
2558 (4.1.1-4)
การบริหารอาจารย์
1. ภาควิชาฯ มีระบบและกลไกการบริหารอาจารย์ (4.1.2-5)
2. ภาควิชาฯ มีการนำระบบและกลไกไปสู่การดำเนินการโดยประชุมภาควิชาฯ
โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารอาจารย์
การสร้างขวัญกำลังใจและบทบาทหน้าที่อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้รับผิดชอบด้านอื่นของหลักสูตร
(4.1.2-6)
2. ภาควิชาฯ ดำเนินการมอบหมายความรับผิดชอบโดยการออกคำสั่งการจัดโครงสร้างและหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรตามแนวทางการบริหารอาจารย์
(4.1.2-7)
3. ประชุมภาควิชาฯ เพื่อกำกับติดตามงาน (4.1.2-8)
4. ภาควิชาสร้างขวัญและกำลังใจตามแนวทางที่ภาควิชากำหนด
โดยการพิจารณาและดำเนินการสนับสนุนให้อาจารย์ในภาควิชาที่สนใจพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนได้มีโอกาสไปอบรมต่างประเทศ
และอื่นๆ เพื่อพัฒนาตนเองตามความสนใจภายใต้แผนการอบรมระยะสั้นที่ภาควิชากำหนด
เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานตามความสนใจ
นอกจากนี้ในส่วนของวิทยาลัยฯยังมีการสร้างขวัญและกำลังใจกับบุคลากรโดยการจัดหาบ้านพัก
และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นให้อาจารย์และบุคลากรอื่นในวิทยาลัยฯ (4.1.2-9)
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามแนวทางที่วิทยาลัยกำหนด (4.1.2-10)
การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
1. ประชุมภาควิชาฯ โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
(4.1.3-11)
2. ประชุมภาควิชาฯ
โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนการพัฒนาอาจารย์ที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานและทิศทางการพัฒนาหลักสูตร
แผนศึกษาต่อและแนวทางการอบรมระยะสั้น/ประชุมวิชาการหรือประชุมเชิงปฏิบัติการ
(4.1.3-12)
3. เสนอแผนศึกษาต่อให้งานพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัย
ตามบันทึกข้อความเสนอแผนการศึกษาต่อ (4.1.3-13)
4. เสนอคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเพื่อพิจารณาแผนศึกษาต่อ
ตามรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย (4.1.3-14)
5. กำกับติดตามแผนศึกษาต่อ โดยการประชุมภาควิชาเพื่อติดตามการดำเนินงาน
ดังรายงานการประชุม (4.1.3-15)
6. อาจารย์และบุคคลากรรับการอบรมระยะสั้น/ประชุมวิชาการ
หรือประชุมเชิงปฏิบัติการ ตามรายงานข้อมูลสรุปการได้รับการพัฒนาทางวิชาการ
วิชาชีพของอาจารย์และบุคคลากรในภาควิชา (4.1.3-16)
7. อาจารย์และบุคลากรบันทึกการได้รับการพัฒนาทางวิชาการวิชาชีพลงในแบบบันทึก
และส่งให้งานวิจัยและบริการวิชาการภาควิชาเก็บรวบรวม (4.1.3-17)
8. งานวิจัยและบริการวิชาการภาควิชาจัดทำรายงานข้อมูลสรุปการได้รับการพัฒนาทางวิชาการ
วิชาชีพของอาจารย์ในภาควิชา (4.1.3-18)
การประเมินกระบวนการและการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ
1.
อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องประเมินกระบวนการด้วยวิธีการ
After
action review (AAR) พร้อมเสนอแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนากระบวนการ
แล้วประชุมภาควิชาฯ เพื่อพิจารณา ผลการประเมินระบุว่า การรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
การบริหารอาจารย์มีการจัดโครงสร้างและมอบหมายหน้าที่อาจารย์
กำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแนวทางของวิทยาลัยฯ
และมีการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ด้านการศึกษาต่อ
และการอบรมระยะสั้นครอบคลุมทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย
และวิชาชีพตามแผนที่วางไว้
แต่ขั้นตอนการกำกับติดตามด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
เดิมกำกับติดตามเฉพาะการได้รับการความรู้จากการอบรม/ประชุม
แต่ไม่มีข้อมูลการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางาน
มติที่ประชุมเห็นควรให้ปรับปรุงกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านการอบรมระยะสั้นตามผลประเมิน
ในขั้นตอนการกำกับติดตาม
โดยเพิ่มขั้นตอนการกำกับติดตามการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางาน (4.1-19)
2.ประชุมภาควิชาฯ
โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมินกระบวนการ (4.1-20)
|