ระบบการดำเนินงานของภาควิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์โดยการมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
1.ภาควิชาฯ มีระบบและกลไกสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (6.1-1) ได้ดำเนินการตามระบบ
และกลไก
โดยการจัดประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง (6.1-2)
เพื่อพิจารณา
- ระบบการดำเนินงานของภาควิชาเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
-
กระบวนการปรับปรุงตามแผนการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
โดยมีการกำหนดระบบการดำเนินงาน
การกำกับติดตามในด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ประจำปีการศึกษา 2558 ในด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด
เพื่อให้มีจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษาโดยมีฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์เป็นผู้จัดเตรียมระบบเครื่องเสียง
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรเจคเตอร์ ก่อนเปิดภาคการศึกษาให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน
-จากการสำรวจแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
ภาพรวมเท่ากับ 4.13 และ 4.13 ตามลำดับ
(6.1-3, 6.1-4, 6.1-5, 6.1-6) ซึ่งจากรายงานการประชุมภาควิชาฯ (6.1-7) เห็นว่าสามารถนำผลการประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีในการประเมินคุณภาพหลักสูตรทุกปีการศึกษามาใช้ได้
2. อาจารย์/บุคลากรผู้รับผิดชอบดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ภาควิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์มีการประชุม
(AAR) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานในด้านสิ่งสนับสนุนเกี่ยวกับห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด (6.1-8) โดยอาจารย์รายงานสภาพปัจจุบันของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้จากแบบสำรวจวัสดุ
ครุภัณฑ์ ประจำปี 2558 และแบบสำรวจความพร้อมใช้หนังสือ
ตำราวารสาร และผลงานวิจัยด้านวิชาชีพสาธารณสุขและการแพทย์ฉุกเฉินประจำปี 2558
(6.1-9, 6.1-10) และแนวทางเสนอแนะเพื่อปรับปรุงพัฒนา
ซึ่งทางภาควิชาได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว
เพื่อให้มีจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่พอเพียงและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ซึ่งภาพรวมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
ซึ่งภาพรวมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ มีดังต่อไปนี้
1.ห้องเรียน
-ห้องเรียนมี 2 ห้อง คือห้อง 9502 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และห้อง 9503 สำหรับนักศึกษา
-ห้องเรียนมีเครื่องปรับอากาศทุกห้องและมีขนาดเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียนคือประมาณ
40 คน/ห้อง
ทำให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้หลากหลายรูปแบบตามการออกแบบการสอนของอาจารย์ผู้สอนได้ดี
-ห้องเรียนมีโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัย เพียงพอและพร้อมต่อการใช้งาน
2.
ห้องปฏิบัติการวิชาชีพ
2.1
ห้องปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน
ภาควิชาฯ ได้รับมอบหมายจากกลุ่มงานวิชาการ
ให้ดำเนินการจัดตั้งห้องปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน
ในรูปแบบห้องปฏิบัติการส่วนกลางของวิทยาลัยฯ ซึ่งจะเปิดให้บริการแก่ทุกภาค/ฝ่าย ที่มีการจัดการเรียนการการสอนเกี่ยวกับการพยาบาลพื้นฐานทั้งหมด
มีการย้ายห้องห้องปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานจากตึกอินทนิล (ชั้น5)
มายังอาคารใหม่ (ชั้น6) ซึ่งเป็นที่ตั้งของภาควิชาฯ และเป็นอาคารที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ
มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
2.2
ห้องจำลองปฏิบัติการขั้นสูง (Advance Simulation Room) ซึ่งมีพื้นที่รวมอยู่กับห้องปฏิบัติการพื้นฐาน ภายในห้องมีหุ่น SIM
Man แต่ยังไม่มีห้อง Simulationที่ชัดเจนโดยทีมงานจากบริษัทขายและบริการหลังการขายหุ่นจำลองมาดำเนินการเตรียมการติดตั้งทั้งระบบ
เพื่อเอื้อต่อการใช้งานที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ห้องเรียนมีเครื่องปรับอากาศและตู้เก็บอุปกรณ์ เก็บหุ่นจำลอง โมเดลต่างๆ ทางภาควิชาฯ
ได้ใช้ห้องปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และห้องเรียนแทนการใช้ห้องปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานที่ยังไม่แล้วเสร็จ
ภาควิชาฯ ดำเนินการเร่งรัดให้จัดทำห้องให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2560
- มีการจัดหาวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์
ไว้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เพียงพอ ส่วนหุ่นจำลอง โมเดลต่างๆ
ที่ทำจากวัสดุพลาสติกและยางพารามีการเสื่อมสภาพตามกาลเวลาเป็นจำนวนมากจึงมีการดำเนินการจัดหามาทดแทนตามระบบที่ภาควิชาฯกำหนดไว้
2.2 ห้องปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
-มีเครื่องปรับอากาศ
มีพื้นที่เพียงพอ
เหมาะสมแก่การฝึกปฏิบัติงานและอยู่ในสภาพที่พร้อมต่อการใช้งาน
-มีการจัดหาอุปกรณ์
วัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นในการจัดการเรียนการสอนให้เพียงพอและอยู่ในสภาพที่พร้อมต่อการใช้งานอยู่เสมอ
-จัดสถานที่ไว้รองรับการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการพยาบาลพื้นฐานในวิชาเทคนิคหัตถการพื้นฐาน,วิชาเทคนิคหัตถการสำหรับปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์,วิชาการซักประวัติและตรวจร่างกาย,วิชาฝึกทักษะเบื้องต้นและวิชากายวิภาคศาสตร์
สรีรวิทยาสำหรับปฏิบัติการฉุกเฉิน, การประเมินสภาพ,
การดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน
และการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน
3. ห้องสมุด
-
เปิดให้บริการ 66 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยเปิดบริการ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 08.00-20.00
น. และวันเสาร์ 12.00-18.00 น. เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
- มีบรรณารักษ์
จัดปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุดและการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ให้กับนักศึกษาใหม่
- มีจำนวนหนังสือ ตำรา วารสาร
และผลงานวิจัยด้านวิชาชีพสาธารณสุขและการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ครอบคลุมและเพียงพอต่อการค้นคว้า
ห้องสมุดมีการสอบถามความต้องการหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนมายังภาควิชาฯ
ทุกปีการศึกษา
- มีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของห้องสมุดสำหรับการสืบค้นสำหรับให้การบริการอาจารย์
นักศึกษา
-มีเจ้าหน้าที่ ให้บริการ ยืม/คืน หนังสือ ตำราเรียนที่สะดวกรวดเร็ว
-มีระบบสารสนเทศที่เอื้อต่อการศึกษา
ค้นคว้าด้วยตนเองให้นักศึกษา
-มีคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการสืบค้นข้อมูล
ที่ห้องสมุดจำนวน 10 เครื่อง, ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จำนวน
60 เครื่อง และเปิดโอกาสให้นักศึกษาและคณาจารย์
นำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล, Tablet, Smartphone เปิดช่องทางเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้จำนวน
145 เครื่อง
และบุคคลภายนอก โดยจัดให้มีการลงทะเบียนรับ username และ password เพื่อการใช้งาน
มีระบบอินเตอร์เน็ตของวิทยาลัยฯ
และสามารถใช้ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยระดับนานาชาติ
- มีบริการให้ยืมหนังสือ
ตำราเรียนเกินเวลาปกติช่วงที่ต้องไปฝึกปฏิบัติยังแหล่งฝึกงานภายนอก
โดยมีอาจารย์ผู้นิเทศหรืออาจารย์ผู้ประสานงานวิชารับรอง
4. พื้นที่
สถานที่สำหรับนักศึกษาได้พบปะ สังสรรค์ แลกเปลี่ยน สนทนา หรือทำงานร่วมกัน
ภาควิชาฯ
จัดสถานที่สำหรับให้นักศึกษา ได้พบปะสังสรรค์
แลกเปลี่ยนสนทนาหรือทำงานกลุ่มร่วมกัน
อยู่ทางด้านหน้าและด้านหลังของอาคารเรียน
โดยมีโต๊ะทำงาน สถานที่โล่งบรรยากาศถ่ายเทสะดวก
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
ภาควิชาฯ
ดำเนินการสำรวจแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
พบว่านักศึกษาและอาจารย์มีความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในภาพรวมเท่ากับ
4.13 และ 4.13 ตามลำดับ
การประเมินกระบวนการและการปรับปรุงพัฒนากระบวนการ
1.
อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องประเมินกระบวนการพร้อมเสนอแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนากระบวนการแล้วจัดประชุมภาควิชาฯ
เพื่อพิจารณา ผลการประเมินระบุว่า อาจารย์ที่รับผิดชอบสามารถกำกับ
ติดตามการดำเนินงานเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
โดยการมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตร
มีจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้พอเพียงและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
นักศึกษาและอาจารย์มีความพึงพอใจสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้อยู่ในระดับดี
แต่การดำเนินงานพบปัญหาในขั้นตอนการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย
พบว่าการจัดซื้อจัดจ้างสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนบางอย่างไม่แล้วเสร็จภายในปีการศึกษา
เนื่องจากระบบและกลไกปัจจุบันไม่ครอบคลุมขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุที่ภาควิชาฯต้องดำเนินการ
ทำให้การดำเนินการล่าช้า
2.
ประชุมภาควิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมินกระบวนการ (6.1-11)
|