ตัวบ่งชี้ที่3.2    การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

ชนิดของตัวบ่งชี้           กระบวนการ

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

รายการหลักฐาน

3.2.1 การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา

มีระบบกลไกการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา โดยดำเนินการตามฉบับ 2/2558 (3.2.1-01)

ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง พิจารณารายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำชั้น ทบทวนแนวทางการปฏิบัติ (3.2.1-02) และกำหนดวันเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา (3.2.1-03) เสนอแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำชั้น (3.2.1-04) อาจารย์ประจำชั้นแจ้งกำหนดการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาให้นักศึกษาทุกคนทราบ อาจารย์ประจำชั้นดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติ ตลอดปีการศึกษา 2558 อาจารย์ประจำชั้นให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 14 ครั้ง (3.2.1-05) และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 9 ครั้ง (3.2.1-06) อาจารย์ที่ปรึกษาดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติ นักศึกษาบันทึกลงสมุดการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาทุกครั้ง (3.2.1-07) มีเรื่องที่ต้องดำเนินการส่งต่อภาควิชา/วิทยาลัย 2 เรื่อง คือ นางสาวภัจรินทร์ บุญงาม นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ลาพักการศึกษาเนื่องจากเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ขอกลับเข้าศึกษาต่อในภาคเรียนที่ 2 (3.2.1-08) และนางสาวนิภาพร เกลื่อนพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ขอพักการศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 เพื่อดูแลบิดาในการทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด (3.2.1-09) จัดโครงการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสานสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา 2 ระยะ คือในวันที่ 30 ธันวาคม 2558 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 (3.2.1-10) สรุปผลการดำเนินงานเสนอหัวหน้าภาควิชา (3.2.1-11)

 

 

การประเมินกระบวนการและเสนอแนวทางพัฒนา

ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องประเมินกระบวนการด้วยวิธี AAR ผลการประเมินระบุว่าพบปัญหาหรือข้อจำกัด ดังนี้ 1) อาจารย์ที่ปรึกษาหลายท่านเห็นว่าสมุดที่นักศึกษาบันทึก ติดตามการให้คำปรึกษายาก เพราะสมุดอยู่กับนักศึกษา จึงให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้บันทึกการเข้าพบแทน 2) ในวันที่กำหนดเข้าพบ มีอาจารย์ที่ปรึกษาบางท่านติดราชการ ทำให้ไม่สามารถเข้าพบตามวันที่กำหนดได้ ที่ประชุมจึงมีมติ 1) เปลี่ยนขั้นตอน “นักศึกษาบันทึกการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนว” เป็น “อาจารย์ที่ปรึกษาบันทึกการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนว 2) เปลี่ยนกำหนดวันเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาจากที่กำหนดวันที่เป็น ช่วงเวลาแทน โดยปรับระบบและกลไกจากฉบับ 2/2558 เป็นฉบับ 2559 (3.2.1-12)

ผลจากการปรับปรุง

อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงระบบและกลไก 2557 เป็นฉบับ 1/2558 ตามผลการประเมินสิ้นปีการศึกษา 2557 โดยเพิ่มขั้นตอนนักศึกษาบันทึกการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวลงในสมุดบันทึกการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา (3.2.1-13) ผลการดำเนินงานพบว่าในภาคเรียนที่ 1 นักศึกษามีการบันทึกไม่ครบทุกคน จึงดำเนินการปรับปรุงระบบและกลไกอีกครั้งจากฉบับ 1/2558 เป็นฉบับ 2/2558 ให้กำหนดวันเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา อย่างน้อย 3 ครั้ง/ภาคเรียนปกติ และ 1 ครั้ง/ภาคเรียนฤดูร้อน โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2558 เป็นต้นไป (3.2.1-01) โดยภาคเรียนที่ 2 คือวันที่ 30 ธันวาคม 2558 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 และวันที่ 20 เมษายน 2559 และภาคฤดูร้อน คือวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 (3.2.1-03) เมื่อเปรียบเทียบการบันทึกของนักศึกษาพบว่าในภาคเรียนที่ 1 มีนักศึกษาชั้นปี 1 บันทึกการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาร้อยละ 29 ของจำนวนนักศึกษาทั้งชั้นปี นักศึกษาชั้นปี 2 บันทึกร้อยละ 41 หลังจากกำหนดวันเข้าพบแล้ว ในภาคเรียนที่ 2 และภาคฤดูร้อนพบว่านักศึกษาทั้งสองชั้นปีมีการบันทึกอย่างน้อย 4 ครั้งตามที่กำหนดครบทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 จากผลการดำเนินงานตามระบบและกลไกการควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา พบว่าทำให้นักศึกษามีโอกาสได้เข้าพบปะกับอาจารย์ที่ปรึกษามากขึ้น ลดช่องว่าง เพิ่มความเข้าใจ รวมทั้งได้รู้จักกับนักศึกษาคนอื่นๆ ที่มีอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาระหว่างชั้นปีที่ 1 และ 2 มีการติดตามการให้คำแนะนำปรึกษา มีกิจกรรมสานสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา และนักศึกษาทั้ง 2 ชั้นปี ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2558 ไม่พบการรายงานปัญหาระหว่างนักศึกษาทั้ง 2 ชั้นปีอีก (3.2.1-14) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาด้านระบบอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.43 คะแนน (3.2.1-15)

3.2.1-01 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 2 หน้า 9-13

3.2.1-02 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 6 สิงหาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 9

3.2.1-03 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 3

3.2.1-04 คำสั่งวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดชลบุรี ที่ 65/2558 เรื่องแต่งตั้งอาจารย์ประจำชั้นและอาจารย์ที่ปรึกษา

3.2.1-05 แบบบันทึกการให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ประจำชั้น นักศึกษาชั้นปีที่ 1

3.2.1-06 แบบบันทึกการให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ประจำชั้น นักศึกษาชั้นปีที่ 2

3.2.1-07 สมุดการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา

3.2.1-08 บันทึกข้อความ ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เรื่องขอกลับเข้าศึกษาต่อ

3.2.1-09 คำสั่งวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดชลบุรี ที่ 45/2559 เรื่องให้นักศึกษาพักการศึกษา

3.2.1-10 เอกสารโครงการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสานสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม

3.2.1-11 บันทึกข้อความ ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2559 เรื่องสรุปผลการดำเนินงานของงานกิจการภาควิชาเภสัชกรรม

3.2.1-12 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 23 มิถุนายน 2559 และเอกสารแนบที่ 3 หน้า 7-10

3.2.1-13 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 6 สิงหาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 1

3.2.1-14 รายงานผลการปรับปรุง/พัฒนา

3.2.1-15 รายงานผลการประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรของนักศึกษา

3.2.2 การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

มีระบบกลไกการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยดำเนินการตามฉบับ 2/2558 (3.2.2-01)

ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยดำเนินการจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมทักษะทุกด้าน ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และทักษะชีวิตและอาชีพ ผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตร (3.2.2-02) ดำเนินการตามแนวทางสำหรับนักศึกษาทุกชั้นปี ครอบคลุมทักษะทุกด้าน และสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ รวมทั้งสิ้น 8 โครงการ เป็นโครงการที่จัดโดยภาควิชาเภสัชกรรม จำนวน 3 โครงการ และโครงการที่จัดโดยวิทยาลัยฯ จำนวน 5 โครงการ (3.2.2-03, 3.2.2-04, 3.2.2-05, 3.2.2-06, 3.2.2-07, 3.2.2-08, 3.2.2-09, 3.2.2-10) นักศึกษาบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาลงในสมุดบันทึกและส่งอาจารย์ประจำชั้นตามกำหนดเวลา (3.2.2-11) ประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา พบว่าผลการประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ และภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 3.70 3.79 3.96 และ 3.80 ตามลำดับ (3.2.2-12) สรุปผลการดำเนินงานเสนอหัวหน้าภาควิชา (3.2.2-13)

การประเมินกระบวนการและเสนอแนวทางพัฒนา

ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องประเมินกระบวนการด้วยวิธี AAR ผลการประเมินพบปัญหา/ข้อจำกัด คือ ไม่มีการประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา ก่อนจัดโครงการต่างๆ จึงไม่มีข้อมูลว่าควรเน้นทักษะด้านใดเป็นพิเศษ ที่ประชุมจึงมีมติให้เพิ่มขั้นตอนการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา ก่อนขั้นตอนการกำหนดแนวทางพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยปรับระบบกลไกจากฉบับ 2/2558 เป็นฉบับ 2559 (3.2.2-14)

ผลจากการปรับปรุง

อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงระบบและกลไก 2557 เป็นฉบับ 1/2558 ตามผลการประเมินสิ้นปีการศึกษา 2557 ให้เพิ่มขั้นตอนให้นักศึกษาบันทึกลงสมุดบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษา (3.2.2-15) ผลการดำเนินงานพบว่านักศึกษาได้บันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมลงในสมุดบันทึกและส่งอาจารย์ประจำชั้นตามกำหนดเวลา (3.2.2-11) นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงระบบและกลไกอีกครั้งจากฉบับ 1/2558 เป็นฉบับ 2/2558 โดยเพิ่มขั้นตอนการประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาทั้ง 2 ชั้นปี โดยกำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.5 คะแนน (3.2.2-01) ผลการประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก มีคะแนนภาพรวมเฉลี่ย 3.65 และ 3.91 คะแนน ตามลำดับ โดยทักษะที่มีคะแนนสูงสุดคือทักษะด้านชีวิตและอาชีพ รองลงมาคือ ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ตามลำดับ (3.2.2-16) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาด้านกิจกรรมพัฒนานักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.37 คะแนน (3.2.2-17)

3.2.2-01 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 2 หน้า 14-17

3.2.2-02 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 6 สิงหาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 10

3.2.2-03 เอกสารโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ ด้านภาษาอังกฤษ “ค่ายภาษาอังกฤษ” (English Camp)

3.2.2-04 เอกสารโครงการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม

3.2.2-05 เอกสารโครงการพัฒนานักศึกษาด้านทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “Gen Z to 21th Century”

3.2.2-06 เอกสารโครงการพัฒนานักศึกษาด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม “การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารและศิลปะการแสดง ระหว่างไทย-อินโดนีเซีย” ประจำปี 2558

3.2.2-07 เอกสารโครงการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสานสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา

3.2.2-08 เอกสารการเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำนักศึกษาในศตวรรษที่ 21

3.2.2-09 เอกสารโครงการพัฒนาสุขภาวะและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาภายในเครือข่าย สวสท. “4th Smart Brain & Health”

3.2.2-10 เอกสารโครงการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสานสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา ระยะที่ 2

3.2.2-11 สมุดบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษา

3.2.2-12 รายงานผลการประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

3.2.2-13 บันทึกข้อความ ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2559 เรื่องสรุปผลการดำเนินงานของงานกิจการภาควิชาเภสัชกรรม

3.2.2-14 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 23 มิถุนายน 2559 และเอกสารแนบที่ 3 หน้า 11-13

3.2.2-15 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 6 สิงหาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 1

3.2.2-16 รายงานผลการปรับปรุง/พัฒนา

3.2.2-17 รายงานผลการประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรของนักศึกษา

 

ผลการประเมิน

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

คะแนนประเมินตนเอง

บรรลุเป้าหมาย

4

·    มีระบบมีกลไก

·    มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

·    มีการประเมินกระบวนการ

·    มีการปรับปรุงกระบวนการจากผลการประเมิน

·    มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

4 คะแนน

บรรลุ

 

แนวทางการพัฒนา

          ปรับปรุง/พัฒนาระบบและกลไกการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาตามผลการประเมินกระบวนการให้เกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรม