ตัวบ่งชี้ที่ 4.1    การบริหารและพัฒนาอาจารย์

ชนิดของตัวบ่งชี้           กระบวนการ

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

รายการหลักฐาน

4.1.1 ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร

มีระบบกลไกการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร  โดยดำเนินการตามฉบับ 2/2558 (4.1.1-01)

ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร และแผนอัตรากำลัง (4.1.1-02) พิจารณารายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรประจำปีการศึกษา ที่ประชุมมีความเห็นให้คงจำนวนและรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรไว้ 3 ท่าน เช่นเดิม (4.1.1-03) ต่อมา นางสินีนาฏ โคตรบรรเทา ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรจะย้ายไปปฏิบัติงานที่กลุ่มงานอื่น ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ด้านบริหารหลักสูตรได้อย่างเต็มที่ มติที่ประชุมเห็นสมควรให้นางสาวสินีนาฏ วิทยพิเชฐสกุล ทำหน้าที่อาจารย์ประจำหลักสูตรแทน (4.1.1-04) ดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรไปยังสถาบันพระบรมราชชนก (4.1.1-05) ประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร (4.1.1-06)

การประเมินกระบวนการและเสนอแนวทางพัฒนา

ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องประเมินกระบวนการด้วยวิธี After Action Review (AAR) ผลการประเมินระบุว่ามีปัญหา/ข้อจำกัดคือ ยังไม่มีการเตรียมอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อทดแทน มติที่ประชุมจึงให้เพิ่มขั้นตอนการเตรียมอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อทดแทน โดยปรับระบบและกลไกจากฉบับ 2/2558 เป็นฉบับ 2559 (4.1.1-07)

ผลจากการปรับปรุง

อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงระบบและกลไก 1/2558 เป็นฉบับ 2/2558 โดยให้เพิ่มขั้นตอนประเมินความพึงพอใจด้านระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร (4.1.1-01) ผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรด้านระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคะแนนเฉลี่ย 4.58 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน อยู่ในระดับมากที่สุด (4.1.1-06) และความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย 4.59 คะแนน ซึ่งดีขึ้นจากผลการประเมินในปีการศึกษา 2557 และ 2556 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย 4.52 และ 3.85 คะแนน ตามลำดับ (4.1.1-08)

4.1.1-01 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 2 หน้า 18-22

4.1.1-02 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 19 ธันวาคม 2557 และเอกสารแนบที่ 6 และ 8

4.1.1-03 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 22 มิถุนายน 2558

4.1.1-04 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 6 สิงหาคม 2558

4.1.1-05 หนังสือวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดชลบุรี ที่ สธ 0203.081/1402 วันที่ 10 กันยายน 2558 เรื่องขอเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

4.1.1-06 รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อการบริหารหลักสูตร

4.1.1-07 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 23 มิถุนายน 2559 และเอกสารแนบที่ 3 หน้า 14-17

4.1.1-08 รายงานผลการปรับปรุง/พัฒนา

4.1.2 ระบบการบริหารอาจารย์

มีระบบกลไกการบริหารอาจารย์ โดยดำเนินการตามฉบับ 2/2558 (4.1.2-01)

ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารอาจารย์ (4.1.2-02) มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบตามโครงสร้างภาควิชา (4.1.2-03) ดำเนินการปฐมนิเทศอาจารย์ประจำหลักสูตรคนใหม่ คือ นางสาวสินีนาฏ วิทยพิเชฐสกุล (4.1.2-04) สร้างขวัญและกำลังใจตามแนวทางที่กำหนด อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำ และบุคลากรทุกคนได้ไปอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาตนเองภายใต้งบพัฒนาตนเอง ส่วนการอบรมที่นอกเหนือจากงบพัฒนาตนเอง คือ การเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมสุขภาวะและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ สถาบัน STIKES Bali สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีอาจารย์เข้าร่วมโครงการจำนวน 1 คน (4.1.2-05) และดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแนวทางของวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ในส่วนของวิทยาลัยฯยังมีการสร้างขวัญและกำลังใจกับบุคลากรโดยการตรวจสุขภาพประจำปี จัดหาบ้านพัก และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นด้วย

การประเมินกระบวนการและเสนอแนวทางพัฒนา

ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องประเมินกระบวนการด้วยวิธี AAR ผลการประเมินระบุว่าพบปัญหา/ข้อจำกัดคือ การสร้างขวัญและกำลังใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นเพราะยังไม่มีการสำรวจความต้องการของอาจารย์ประจำหลักสูตร ที่ประชุมจึงมีมติให้เพิ่มขั้นตอนการสำรวจความต้องการการสร้างขวัญและกำลังใจ และปรับระบบและกลไกจากฉบับ 2/2558 เป็นฉบับ 2559 (4.1.2-06)

ผลจากการปรับปรุง

อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงระบบและกลไกฉบับ 1/2558 เป็นฉบับ 2/2558 โดยให้เพิ่มขั้นตอนการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ (4.1.2-01) ซึ่งมีอาจารย์ประจำหลักสูตรใหม่จำนวน 1 คน คือ นางสาวสินีนาฏ วิทยพิเชฐสกุล ได้รับการปฐมนิเทศโดยการดูแลให้ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอน (coaching) และการอบรม/ประชุม (4.1.2-04) อาจารย์ประจำหลักสูตรใหม่สามารถทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อระบบการบริหารอาจารย์อยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.58 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน (4.1.2-07) และความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย 4.59 คะแนน ซึ่งดีขึ้นจากผลการประเมินในปีการศึกษา 2557 และ 2556 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย 4.52 และ 3.85 คะแนน ตามลำดับ (4.1.2-08)

4.1.2-01 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 2 หน้า 23-25

4.1.2-02 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 19 ธันวาคม 2557 และเอกสารแนบที่ 7

4.1.2-03 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 1

4.1.2-04 ข้อมูลสรุปแสดงการได้รับการปฐมนิเทศสำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตรใหม่

4.1.2-05 เอกสารการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมสุขภาวะและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ สถาบัน STIKES Bali สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

4.1.2-06 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 23 มิถุนายน 2559 และเอกสารแนบที่ 3 หน้า 18-19

4.1.2-07 รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อการบริหารหลักสูตร

4.1.2-08 รายงานผลการปรับปรุง/พัฒนา

4.1.3 ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์

มีระบบกลไกการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ โดยดำเนินการตามฉบับ 2/2558 (4.1.3-01)

            ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ จัดทำแผนการพัฒนาอาจารย์ (4.1.3-02) ปีการศึกษา 2559 หลักสูตรเสนอแผนพัฒนาคุณวุฒิอาจารย์ ระดับโท-เอก คือหลักสูตร เภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร และเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ พิจารณาให้หลักสูตรเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร ระดับปริญญาเอก อยู่ในแผนของวิทยาลัยฯ (4.1.3-03) หลักสูตรได้กำกับติดตามแผนการศึกษาต่อ ไม่มีอาจารย์ประจำหลักสูตรไปศึกษาต่อ และมีอาจารย์วนิดา ประเสริฐ ได้รับทุน JSPS Ronpaku (Dissertation PhD) Program เข้าเรียนหลักสูตร Pharmacoepidemiology สถาบัน Meiji Pharmaceutical University ประเทศญี่ปุ่น (4.1.3-04) และอาจารย์อัญชิสา พูนประสาธน์พร ได้รับทุนรัฐบาล (กระทรวงสาธารณสุข) ของสถาบันพระบรมราชชนกไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ ในสาขาเภสัชสาธารณสุข/เภสัชสมุนไพร (4.1.3-05) อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำ และบุคลากรสายสนับสนุน ทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ/วิชาชีพครบตามแผนที่หลักสูตรกำหนด (4.1.3-06) มีบันทึกการได้รับการพัฒนาทางวิชาการ/วิชาชีพ (4.1.3-07) และบันทึกการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางาน (4.1.3-08)

การประเมินกระบวนการและเสนอแนวทางพัฒนา

            ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องประเมินกระบวนการด้วยวิธี AAR ผลการประเมินระบุว่ามีปัญหา/ข้อจำกัด คือ 1) งบประมาณการพัฒนาตนเอง 10,000 บาท/ปี ไม่เพียงพอ อาจารย์ต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง 2) ขั้นตอน “การกำกับติดตามการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางาน” มีความซ้ำซ้อนกับระบบงานของวิทยาลัยฯ ซึ่งมีการกำกับติดตามในส่วนนี้อยู่แล้ว 3) ขั้นตอน “บันทึกการได้รับการพัฒนาฯ” เป็นการเพิ่มภาระกับอาจารย์ 4) ผู้รับผิดชอบติดตามการพัฒนาทางวิชาการ/วิชาชีพได้ยาก เพราะไม่รู้ว่าใครไปที่ไหน เมื่อไร ที่ประชุมจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) เสนอคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ขอเพิ่มงบประมาณการพัฒนาตนเองของอาจารย์ประจำหลักสูตรเป็น 20,000 บาท/ปี และอาจารย์ประจำเป็น 15,000 บาท/ปี 2) เอาขั้นตอน “กำกับติดตามการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางาน” ออกจากระบบกลไก 3) เปลี่ยนขั้นตอน “บันทึกฯ” เป็น “ส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางวิชาการ/วิชาชีพ” รายละเอียดหลักฐานให้เป็นไปตามแนวทางที่หลักสูตรกำหนด 4) ให้ทุกคนใช้ google calendar และแชร์กำหนดวันที่ไปพัฒนาทางวิชาการ/วิชาชีพของแต่ละคนในปฏิทินของหลักสูตร และเพิ่มขั้นตอน “ลงกำหนดวันที่ไปพัฒนาทางวิชาการ/วิชาชีพลงใน google calendar” โดยปรับระบบและกลไกจากฉบับ 2/2558 เป็นฉบับ 2559 (4.1.3-09)

ผลจากการปรับปรุง

อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงระบบและกลไก 2557 เป็นฉบับ 1/2558 ตามผลการประเมินสิ้นปีการศึกษา 2557 โดยปรับปรุงกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านการอบรมระยะสั้น ให้เพิ่มขั้นตอนการกำกับติดตามการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางาน (4.1.3-10) ผลการดำเนินงานสามารถติดตามการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางานของอาจารย์และบุคลากรทุกคนได้จากบันทึก (4.1.3-06, 4.1.3-08) ผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์อยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.58 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน (4.1.3-11) และความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย 4.59 คะแนน ซึ่งดีขึ้นจากผลการประเมินในปีการศึกษา 2557 และ 2556 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย 4.52 และ 3.85 คะแนน ตามลำดับ (4.1.3-12)

4.1.3-01 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 2 หน้า 26-28

4.1.3-02 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 6 สิงหาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 7 และ 8

4.1.3-03 แผนพัฒนาคุณวุฒิอาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดชลบุรี

4.1.3-04 หนังสือสถาบันพระบรมราชชนก ที่ สธ 0203.03/2782 วันที่ 1 เมษายน 2559 เรื่องข้าราชการขออนุมัติสมัครรับทุน JSPS RONPAKU (Dissertation PhD) Program FY 2016 ณ ประเทศญี่ปุ่น

4.1.3-05 หนังสือสถาบันพระบรมราชชนก ที่ สธ 0203.053/6286 วันที่ 25 กรกฎาคม 2559 เรื่องเชิญผู้มีสิทธิรับทุนรัฐบาล (กระทรวงสาธารณสุข) เพื่อไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ประจำปี 2559 เข้ารับการปฐมนิเทศและจัดทำสัญญาการรับทุนรัฐบาล (กระทรวงสาธารณสุข)

4.1.3-06 รายงานข้อมูลสรุปการได้รับการพัฒนาทางวิชาการ/วิชาชีพของอาจารย์และบุคลากร

4.1.3-07 แบบบันทึกข้อมูลการอบรมระยะสั้น/ประชุมวิชาการ หรือประชุมเชิงปฏิบัติการ

4.1.3-08 แบบกำกับติดตามการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางาน

4.1.3-09 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 23 มิถุนายน 2559 และเอกสารแนบที่ 3 หน้า 20-22

4.1.3-10 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 6 สิงหาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 2

4.1.3-11 รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อการบริหารหลักสูตร

4.1.3-12 รายงานผลการปรับปรุง/พัฒนา

 

ผลการประเมิน

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

คะแนนประเมินตนเอง

บรรลุเป้าหมาย

4

·    มีระบบมีกลไก

·    มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

·    มีการประเมินกระบวนการ

·    มีการปรับปรุงกระบวนการจากผลการประเมิน

·    มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

4 คะแนน

บรรลุ

 

แนวทางการพัฒนา

          ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการตามผลการประเมิน เพื่อให้เกิดผลที่ดีต่ออาจารย์ประจำหลักสูตรทั้งในด้านการคงอยู่ และความพึงพอใจ