5.2.1 การกำหนดผู้สอน
มีระบบกลไกการกำหนดผู้สอน โดยดำเนินการตามฉบับ
2/2558 (5.2.1-01)
ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องพิจารณาเกณฑ์การกำหนดผู้สอนและแบ่งภาระงานสอน
(5.2.1-02, 5.2.1-03) ตรวจสอบการกำหนดอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
(5.2.1-04, 5.2.1-05) แจ้งรายวิชาที่ต้องรับผิดชอบแก่อาจารย์ผู้สอน
โดยทำหนังสือเชิญสอนสำหรับอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษนอกภาควิชา (5.2.1-06)
ส่วนอาจารย์ในภาควิชาแจ้งโดยใช้ตารางภาระงานสอน
การประเมินกระบวนการและเสนอแนวทางพัฒนา
ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องประเมินกระบวนการด้วยวิธี
AAR
ผลการประเมินพบปัญหา/ข้อจำกัด คือ 1) มีขั้นตอนการปฐมนิเทศผู้สอนที่เป็นอาจารย์ใหม่
แต่ยังไม่ได้ระบุในระบบกลไกให้ชัดเจน 2) หลังจากขั้นตอนการปฐมนิเทศแล้ว ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ใหม่อาจยังไม่เห็นภาพของการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
ที่ประชุมจึงมีมติ 1) เพิ่มขั้นตอน “ปฐมนิเทศผู้สอนที่เป็นอาจารย์ใหม่” 2) เพิ่มขั้นตอน “สังเกตการสอนจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์”
อย่างน้อย 3 ครั้ง โดยปรับระบบกลไกจากฉบับ 2/2558 เป็นฉบับ 2559
(5.2.1-07)
ผลจากการปรับปรุง
อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงระบบกลไก
1/2558 เป็นฉบับ 2/2558 มติที่ประชุมให้เพิ่มรายละเอียดในขั้นตอนการประชุมภาควิชาในเรื่องเกณฑ์การกำหนดผู้สอน และเพิ่มขั้นตอนการตรวจสอบการกำหนดผู้สอนให้เป็นไปตามเกณฑ์ ดำเนินการให้มีเกณฑ์การกำหนดผู้สอน
(5.2.1-03) และตรวจสอบการกำหนดผู้สอน
พบว่าผู้สอนทุกรายวิชามีคุณวุฒิและคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด (5.2.1-04,
5.2.1-05, 5.2.1-08)
|
5.2.1-01 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 2 หน้า 38-40
5.2.1-02 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 22 มิถุนายน 2558 และเอกสารแนบที่ 7
5.2.1-03 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 4
5.2.1-04 รายงานสรุปผลการตรวจสอบการกำหนดผู้สอน
5.2.1-05 แบบอนุมัติตารางสอน
5.2.1-06 บันทึกข้อความเชิญสอน
5.2.1-07 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 23 มิถุนายน 2559 และเอกสารแนบที่ 3 หน้า 30-31
5.2.1-08 รายงานผลการปรับปรุง/พัฒนา
|
5.2.2 การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
มีระบบกลไกการกำกับ ติดตาม
และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
โดยดำเนินการตามฉบับ 2/2558
(5.2.2-01)
ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการจัดทำ
มคอ.3/ มคอ.4 และ test
blueprint และแนวทางการทวนสอบก่อนสอน (5.2.2-02) ชี้แจงแนวทางการจัดทำ
มคอ.3/ มคอ.4 และ test blueprint และแนวทางการทวนสอบก่อนสอน
แก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา โดยแนบเอกสารแนวทางไปพร้อมกับแฟ้มรายวิชา
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำแผนการเรียนรู้ใน มคอ.3/ มคอ.4 และ test
blueprint (5.2.2-03) ดำเนินการทวนสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ใน
มคอ.3/ มคอ.4 และ test blueprint โดยการทวนสอบก่อนสอน
(5.2.2-04) อาจารย์ผู้สอนชี้แจง มคอ.3/ มคอ.4 และ test blueprint แก่นักศึกษา ดำเนินการสอนตามแผนการเรียนรู้
มีการทวนสอบระหว่างสอนเฉพาะอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งมีจำนวน
2 คน และไม่มีรายวิชาที่ผลประเมินประสิทธิภาพการสอนต่ำกว่า 3.51 คะแนนในปีการศึกษา
2557 (5.2.2-05) ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามระบบกลไกของตัวบ่งชี้ 5.3 นักศึกษาประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ตามระบบของวิทยาลัย
มีผลประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.22 – 4.78 คะแนน
จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน (5.2.2-06) อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำ มคอ.5/ มคอ.6
การประเมินกระบวนการและเสนอแนวทางพัฒนา
ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องประเมินกระบวนการด้วยวิธี
AAR
ผลการประเมินพบปัญหา/ข้อจำกัด คือ 1) ไม่มีการรวบรวมแนวทางไว้ด้วยกัน
และมีการปรับบ่อยครั้ง 2) ขั้นตอน “ทวนสอบผลสัมฤทธิ์”
ซ้ำซ้อนกับตัวบ่งชี้ 5.3.2 และ 3) ขั้นตอน “ประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์” และ “จัดทำ มคอ.5/ มคอ.6” ซ้ำซ้อนกับตัวบ่งชี้ 5.3.3
ที่ประชุมจึงมีมติ 1) เพิ่มขั้นตอน “จัดทำคู่มือการทำแฟ้มรายวิชา”
2) เปลี่ยนขั้นตอน “ชี้แจงแนวทางการจัดทำ
มคอ.3/มคอ.4 ….” เป็นขั้นตอน “ชี้แจงคู่มือการทำแฟ้มรายวิชา” 3) ย้ายขั้นตอน “ประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์”
ไประบบกลไก 5.3.3 และ 4) ลดขั้นตอน “ทวนสอบผลสัมฤทธิ์”
และ “จัดทำ มคอ.5/ มคอ.6” ออก โดยปรับระบบกลไกจากฉบับ 2/2558 เป็นฉบับ 2559 (5.2.2-07)
ผลจากการปรับปรุง
อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงระบบและกลไก
2557 เป็นฉบับ 1/2558 ตามผลการประเมินสิ้นปีการศึกษา 2557 โดยเพิ่มขั้นตอนการจัดทำและชี้แจงแนวทางการทวนสอบก่อนสอน
(5.2.2-08) เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว ผลการทวนสอบก่อนสอนในภาคเรียนที่ 1
พบว่ายังมีรายวิชาที่ต้องปรับปรุง มคอ.3 และ test blueprint จำนวน 6 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 35.29 ในเรื่องแผนการสอนและการประเมินผล
(5.2.2-09) จึงปรับปรุงระบบและกลไกอีกครั้งจากฉบับ 1/2558
เป็นฉบับ 2/2558 ให้ปรับแนวทางการจัดทำ มคอ.3/4 โดยให้นำรายละเอียดที่เคยทำในแผนการสอนรายบทมารวมใส่ไว้ใน มคอ.3 หมวด 5 ให้เริ่มดำเนินการกับรายวิชาในภาคเรียนที่ 2/2558 เป็นต้นไป(5.2.2-01) จึงมีการปรับแบบฟอร์มส่วนแผนการสอนเพื่อให้มีความชัดเจน
เห็นความสอดคล้อง ทำให้ในภาคเรียนที่ 2 และภาคฤดูร้อนไม่พบความผิดพลาดในเรื่องแผนการสอนอีก
(5.2.2-09)
|
5.2.2-01 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 2 หน้า 41-45
5.2.2-02 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 22 มิถุนายน 2558 และเอกสารแนบที่ 8 และ 9
5.2.2-03 (ตัวอย่าง) มคอ.3 และ test blueprint รายวิชาความรู้เบื้องต้นเรื่องยาบำบัดโรค
5.2.2-04 รายงานการทวนสอบก่อนสอน
5.2.2-05 รายงานการทวนสอบระหว่างสอน
5.2.2-06 รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์
5.2.2-07 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 23 มิถุนายน 2559 และเอกสารแนบที่ 3 หน้า 32-35
5.2.2-08 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 6 สิงหาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 4
5.2.2-09 รายงานผลการปรับปรุง/พัฒนา
|
5.2.3 การจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
มีระบบกลไกการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย
การบริการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยดำเนินการตามฉบับ 2/2558
(5.2.3-01)
ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (5.2.3-02) สำรวจความต้องการของชุมชน (5.2.3-03) จัดทำแผนการบูรณาการ การเรียนการสอนรายวิชางานบริการเภสัชกรรม และเภสัชกรรมคลินิก บูรณาการกับการวิจัย เรื่องประสิทธิภาพของโปรแกรมการใช้ยาอย่างถูกต้องด้วยเพลงพื้นบ้านต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยเบาหวานในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี บูรณาการกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเสม็ด อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี (5.2.3-04) ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่บูรณาการ คือ วิชางานบริการเภสัชกรรม (5.2.3-05) และวิชาเภสัชกรรมคลินิกเบื้องต้น (5.2.3-06) จัดทำโครงการวิจัย เรื่องประสิทธิภาพของโปรแกรมการใช้ยาอย่างถูกต้องด้วยเพลงพื้นบ้านต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยเบาหวานในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี (5.2.3-07) บูรณาการกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเสม็ด อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี (5.2.3-08) ประเมินการบูรณาการฯ
และผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ผลการประเมินพบว่า 1) ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างถูกต้องในโรคเบาหวานมากกว่าร้อยละ
80 ภายหลังการได้รับบริการวิชาการ โดยมีความรู้ผ่านเกณฑ์ทุกคน 2)
นักศึกษามีผลลัพธ์การเรียนรู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับดี และ 3)
นักศึกษามีเจตคติด้านการบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับดี
มีคะแนนเฉลี่ย 4.20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ภายหลังการให้บริการวิชาการ
(5.2.3-09)
การประเมินกระบวนการและเสนอแนวทางพัฒนา
ประชุมภาควิชาเภสัชกรรมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องประเมินกระบวนการด้วยวิธี
AAR
พบปัญหา/ข้อจำกัด คือ 1) ไม่มีการประเมินทักษะตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนให้บริการวิชาการทำให้ต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมในการให้บริการวิชาการนานกว่าปกติ
2) มีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนให้บริการวิชาการ
แต่ยังไม่ได้ระบุชัดเจนในระบบและกลไก ที่ประชุมจึงมีมติให้เพิ่มขั้นตอน “ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการบูรณาการฯ ของนักศึกษา”
และขั้นตอน “เตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนบูรณาการฯ” โดยปรับระบบและกลไกจากฉบับ 2/2558 เป็นฉบับ 2559 (5.2.3-10)
ผลจากการปรับปรุง
อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงระบบและกลไก
1/2558 เป็นฉบับ 2/2558 โดยเพิ่มขั้นตอนการสำรวจความต้องการของชุมชน (5.2.3-01)
โดยสำรวจข้อมูลสถิติผู้ป่วยเบาหวานในเขตอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
ที่ขึ้นทะเบียนในปี 2558 และข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวาน
โดยพบว่าผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
ส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยมีสาเหตุมาจากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง
ไม่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
เมื่อได้ดำเนินการบูรณาการฯ แล้ว
การให้บริการวิชาการจึงมีความสอดคล้องกับความต้องการและปัญหาด้านสุขภาพของชุมชน
(5.2.3-11)
|
5.2.3-01 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 1 ตุลาคม 2558 และเอกสารแนบที่ 2 หน้า 46-49
5.2.3-02 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 22 มิถุนายน 2558 และเอกสารแนบที่ 10
5.2.3-03 แบบสรุปรายงานประจำปีโรงพยาบาลบ่อทอง
5.2.3-04 แผนการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5.2.3-05 มคอ.3 และ มคอ.5 รายวิชางานบริการเภสัชกรรม
5.2.3-06 มคอ.3 และ มคอ.5 รายวิชาเภสัชกรรมคลินิกเบื้องต้น
5.2.3-07 รายงานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพของโปรแกรมการใช้ยาอย่างถูกต้องด้วยเพลงพื้นบ้านต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยเบาหวานในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
5.2.3-08 โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเสม็ด อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี 5.2.3-09 รายงานสรุปโครงการบริการวิชาการ
5.2.3-10 รายงานการประชุมภาควิชาเภสัชกรรม วันที่ 23 มิถุนายน 2559 และเอกสารแนบที่ 3 หน้า 36-38
5.2.3-11 รายงานผลการปรับปรุง/พัฒนา
|